วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปรางค์บ้านปรางค์

ชื่อเรื่อง : ปรางค์บ้านปรางค์

คณะผู้จัดทำ : 1. นายธนากร เพลินบุญ เลขที่ 9
2. นายพลวัฒน์ ปัตเทสัง เลขที่ 11
3. นางสาวจรรยารัตน์ ซึมรัมย์ เลขที่ 20
4. นางสาววิราวดี ทองอาจ เลขที่ 29
5. นางสาวหนึ่งฤทัย อินทร์เลี้ยง เลขที่ 33
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน : อาจารย์ศิริพร วีระชัยรัตนา

ข้อมูลของภูมิปัญญาท้องถิ่น

ประวัติและความสำคัญ
ปรางค์บ้านปรางค์เป็นศาสนาสถานประจำโรงพยาบาลที่เรียกว่า อโรคยาศาล ในคติศาสนาพุทธ ลัทธิมหายาน สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม ประกอบด้วย ปราสาทประธานทรงสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมก่อมุขยื่นด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออก มีวิหารตั้งอยู่ทางทิศ ตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน มีโคปุระอยู่ทางทิศตะวันออก และมีกำแพงแก้ว ที่สร้างต่อเชื่อมจาก โคปุระ ล้อมรอบ โบราณวัตถุที่สำคัญได้แก่ ประติมากรรมหินทรายรูปพระไภสัชยคุรุ และบริวาร 2 องค์ คือ พระสุริยไวโรจนะ และ พระจันทรไวโรจนะ เป็นรูปเคารพในศาสนาพุทธ ลัทธิมหายาน ศิลปะขอม แบบบายน ( ราวพุทธศักราช 1720 –1780 ) สำนักงานศิลปากรที่ 12 นครราชสีมา ดำเนินการขุดแต่งทางโบราณคดีที่ปรางค์บ้านปรางค์ เมื่อปีงบประมาณ 2545 และดำเนินการบูรณะและ ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ เมื่อปีงบประมาณ 2547

หลักฐานทางโบราณวัตถุ
พบพระพุทธรูปประติมากรรมหินทราย 3 องค์ ได้แก่
- พระไภสัชยคุร (มีบริวาร 2 องค์) คือ
- พระสุริยไวโรจนะ
- พระจันทรไวโรจนะ
( ศิลปะขอม แบบบายน ราวพุทธศักราช 1720 -1780 )

ความสำคัญในอดีต
ปรางค์บ้านปรางค์มีความสำคัญในอดีต คือ เป็นศาสนสถานประจำโรงพยาบาลเรียกว่า อโรคยาศาล ใช้เป็นที่รักษาผู้คนในอดีต
ความสำคัญในปัจจุบัน
ใช้เป็นที่สักการบูชาของชาวบ้าน เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 จะมีการทำบุญตักบาตร ประจำทุกปี เพื่อเป็นการสักการบูชา อาหารที่ใช้เซ่นไหว้ - กล้วยน้ำว้าสุก - ขนมหวานต่าง ๆ
ความเชื่อของคนในท้องถิ่น
ทุกบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณปรางค์บ้านปรางค์จะปลูกต้นกล้วยไว้หน้าบ้าน เพราะเชื่อกันว่าการปลูกต้นกล้วยไว้หน้าบ้านจะเหมือนเป็นการให้ความเคารพแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้องคุ้มครองคนภายในบ้านไม่ให้ได้รับอันตราย
จุดประสงค์
- ต้องการศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของปรางค์บ้านปรางค์ที่มีมาตั้งแต่ในอดีต
- ต้องการศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของปรางค์บ้านปรางค์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
- ต้องการอนุรักษ์และเผยแพร่โบราณสถานที่มีอยู่ในท้องถิ่น

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
โครงงานเรื่องปรางค์บ้านปรางค์นี้ริเริ่มจากกลุ่มของข้าพเจ้าได้มีความคิดที่อยากจะศึกษาและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับแหล่งโบราณสถานและโบราณวัตถุ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ให้ผู้คนทั่วไปได้รู้จักและร่วมกันอนุรักษ์ไว้ จึงเกิดเป็นโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลที่ได้นี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับแหล่งโบราณสถานและโบราณวัตถุในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
วิธีการดำเนินการศึกษา
1. ลงพื้นที่สำรวจแหล่งโบราณสถานปรางค์บ้านปรางค์
2. ดำเนินการสอบถามข้อมูลและสัมภาษณ์บุคคลผู้รู้ภายในหมู่บ้านปรางค์และบันทึกข้อมูลที่ได้ทำการสอบถามและสัมภาษณ์ พร้อมทั้งเก็บรวบรวมภาพโบราณสถาน
3. รวบรวมข้อมูลแล้วนำไปเผยแพร่ในเว็บ gotoknow.org
สรุปผลการศึกษา
ได้ทราบประวัติความเป็นมาและความสำคัญทั้งในอดีตและปัจจุบัน และ หลักฐานทางโบราณคดีของปรางค์บ้านปรางค์ และนำข้อมูลที่ได้ทราบไปเผยแพร่ให้คนทั่วไปได้รู้จักและยังเป็นการช่วยให้บุคคลที่ได้รับข้อมูลเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์โบราณสถานโบราณวัตถุของชาติ
ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา
รู้และเข้าใจเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ความสำคัญของโบราณวัตถุ โบราณสถานในท้องถิ่น ร่วมกันอนุรักษ์ และสืบทอดประเพณีในท้องถิ่น



บทสัมภาษณ์ของนายสุเวช แทนสูงเนิน

- ความเป็นมาของปรางค์บ้านปรางค์
ปรางค์กู่เป็นโบราณสถาน หินที่อยู่บริเวณปรางค์กู่เป็นโบราณวัตถุ ซึ่งโบราณสถานจะมีคูดินหล้อมลอบทั้งสี่ด้าน สามารถทำกินในพื้นดินบริเวณนั้นได้แต่ไม่สามารถออกโฉนดได้
ปรางค์บ้านปรางค์เป็นทางผ่านจากปราสาทหินพิมายไปปราสาทเมืองต่ำ โดยที่หินแต่ล่ะก้อนที่เป็นหินที่มาจากเขาที่จอดกัน ซึ่งเขานั้นอยู่ที่อำเภอโนนดินแดง อยู่ระหว่างเขาใหญ่
ปรางค์บ้านปรางค์เป็นโรงพยาบาลที่คนผ่ายไปผ่านมาได้พักรักษาหรือเรียนกว่า อโรคยาศาล หรือเรียกอีกอย่างว่า ปรางค์กู่หรือกู่ฤๅษี
หินที่อยู่รอบๆปราสาทที่เขาไม่นำก่อกันเป็นปราสาทที่เขาไม่นำมาก่อกันเป็นปราสาทให้หมด เพราะแต่ก่อนเขาก็ไม่ได้เอาขึ้นเพราะสร้างปรางค์ไม่เสร็จ ซึ่งบางคนตายไปในช่วงการก่อสร้างปรางค์ ปรางค์กู่กับปราสาทหินพิมายเป็นคู่แข่งในการสร้าง แต่ในการก่อสร้างถ้าที่ไหนสร้างเสร็จก่อนก็จะชูป้ายสีแดงขึ้นบนฟ้าเพื่อแสดงว่าสร้างเสร็จก่อนอีกฝ่ายจะได้ไม่สร้างต่อไป แต่ในครั้งนี้ปราสาทหินพิมายชูป้ายสีแดงขึ้นก่อนเพื่อแสดงว่าสร้างเสร็จแล้วจึงทำให้ปรางค์ไม่สร้างต่อ ดังนั้นหินที่กองอยู่จึงไม่มีตำแหน่งที่จะขึ้นวาง
ในปรางค์กู่จะมีพระพุทธรูปอยู่ 3 องค์ คือ องค์เล็ก องค์กลาง องค์ใหญ่ ซึ่งตอนนี้นำไปไว้ที่กรมศิลปากร พิมาย พระพุทธรูปของปรางค์กู่จะมีปากแดงทั้ง 3 องค์ พระพุทธรูปเป็นหินสีเขียวแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ยังไม่เขียวถึงกับมรกต แล้วก็คอขาดทั้งสามองค์ เป็นแบบนั้นตั้งแต่ครั้งแรกที่เจอ แต่พอพบเห็นแล้วทางกรมศิลปากรก็ได้นำมาประกอบกันเพื่อให้เป็นพระพุทธรูปที่สมบูรณ์ พบพระพุทธรูปอยู่ในหลุมที่มีความกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร โดนที่มีก้อนหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งทับปากหลุมอยู่ พอเปิดก้อนหินออกเกิดพบพระพุทธรูปทันที พบอยู่บริเวณหน้าประตูทางด้านทิศตะวันออกของปรางค์กู่ ประมาณ 9,000,000 - 10,000,000 บาท ของกรมศิลปากร พอขุดพบได้ประมาณ 20 นาที ผู้อำนวยการกรมศิลปากรก็นำกลับไปไว้ที่กรมศิลปากรที่ 12 พิมาย

- ขนาดความกว้างของพระพุทธรูปประมาณเท่าไหร่ค่ะ
องค์เล็กประมาณ 20 เซนติเมตร
องค์กลางประมาณ 30 เซนติเมตร
องค์ใหญ่ประมาณ 40 เซนติเมตร

- บริเวณปรางค์บ้านปรางค์เป็นที่ดินของใครหรอค่ะ
เป็นที่ดินของประเทศ และเป็นที่ควบคุมและดูแลของกรมศิลปากร

- ไม่สามารถใส่ตงไหนได้เลยหรอค่ะ
ใช่ เพราะตำแหน่งของหินไม่มี แต่ตอนที่เขามาบูรณะ บูรณะทั้งวันได้ไม่ถึงก้อน แล้วหินแต่ละก้อนก็มีเบอร์หรือขนาดของมันเอง ในการทำความสะอาดหินในปรางค์ใช้เวลาเกือบปีก็ยังไม่เสร็จใช้
เคยมีผู้รับเหมาทำความสะอาด ซึ่งคนนั้นใช้มีดถางหญ้าใกล้ๆกับหิน แต่ความจริงแล้วห้ามเอามีมาถางหญ้าบริเวณใกล้กับหิน เพราะถ้ามีดโดนหินแตกแค่นิดเดียวก็จะทำให้หินต่อกันไม่ได้ ดังนั้นต้องค่อยๆถอนหญ้าบริเวณนั้นทีละนิด ถ้ามีฝุ่นก็ใช้แปรงปัดฝุ่นค่อยๆปัดออก จะทำความสะอาดในเวลานานก็ได้แต่ห้ามทำให้โบราณวัตถุชำรุด ถ้าหินชำรุดก็จะไม่สามารถต่อกันได้อีก

- ตาไปดูแลปรางค์ยังไงค่ะ แล้วปกติตาไปดูแลปรางค์ยังไงและเวลาไหนค่ะ
คณะ อสมส. จะไปดูแลเป็นประจำ ตาก็จะไปดูแลทุกวัน ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับปรางค์กู่เช่นมีคนบุกรุกเพื่อหาโบราณวัตถุ ตาก็จะไปบอกเขาดีๆถ้าเขาไม่ฟังก็แจ้งตำรวจและแจ้งกรมศิลปากร

- ใช้งบประมาณในการบูรณะปรางค์ประมาณเท่าไหร่ค่ะ
งบประมาณในการทำความสะอาดปรางค์ 3,000,000 บาท งบประมาณในการลิ้อปรางค์ 2,000,000 บาท รวมเป็น 5,000,000 บาท


บุคคลสำคัญในบ้านปรางค์


ชื่อ นายสุเวช แทนสูงเนิน
เกิดวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2482
ที่อยู่ปัจจุบัน 103 หมู่ที่ 11 ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา

.....................................................................................................

ชื่อ นายพรมมา ปักอินทรีย์
เกิดวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485
ที่อยู่ 1 หมู่ที่ 11 ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา

.................................................................................................


ชื่อ นายพัด บุญอิสระเสรี
เกิดวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2479
ที่อยู่ 102 หมู่ที่ 11 ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา

.....................................................................................................

ชื่อ นายแบน แทนสูงเนิน
เกิดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485
ที่อยู่ 99 หมู่ที่ 11 ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา

.....................................................................................................

ชื่อ นายปรีชา ดุลกลาง
เกิดวันที่ 26 มีถุนายน พ.ศ. 2483
ที่อยู่ 105 หมู่ที่ 11 ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา

....................................................................................................

ชื่อ นายบุญมา ผ่องแผ้ว
เกิดวันที่ พ.ศ. 2498
ที่อยู่ 115 หมู่ที่ 11 ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อ นายโหน จันดี
เกิดวันที่ พ.ศ. 2495
ที่อยู่ 104 หมู่ที่ 11 ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
........................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น