วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บทสัมภาษณ์ของนายสุเวช แทนสูงเนิน
- ความเป็นมาของปรางค์บ้านปรางค์
ปรางค์กู่เป็นโบราณสถาน หินที่อยู่บริเวณปรางค์กู่เป็นโบราณวัตถุ ซึ่งโบราณสถานจะมีคูดินหล้อมลอบทั้งสี่ด้าน สามารถทำกินในพื้นดินบริเวณนั้นได้แต่ไม่สามารถออกโฉนดได้

ปรางค์บ้านปรางค์เป็นทางผ่านจากปราสาทหินพิมายไปปราสาทเมืองต่ำ โดยที่หินแต่ล่ะก้อนที่เป็นหินที่มาจากเขาที่จอดกัน ซึ่งเขานั้นอยู่ที่อำเภอโนนดินแดง อยู่ระหว่างเขาใหญ่

ปรางค์บ้านปรางค์เป็นโรงพยาบาลที่คนผ่ายไปผ่านมาได้พักรักษาหรือเรียนกว่า อโรคยาศาล หรือเรียกอีกอย่างว่า ปรางค์กู่หรือกู่ฤๅษี

หินที่อยู่รอบๆปราสาทที่เขาไม่นำก่อกันเป็นปราสาทที่เขาไม่นำมาก่อกันเป็นปราสาทให้หมด เพราะแต่ก่อนเขาก็ไม่ได้เอาขึ้นเพราะสร้างปรางค์ไม่เสร็จ ซึ่งบางคนตายไปในช่วงการก่อสร้างปรางค์ ปรางค์กู่กับปราสาทหินพิมายเป็นคู่แข่งในการสร้าง แต่ในการก่อสร้างถ้าที่ไหนสร้างเสร็จก่อนก็จะชูป้ายสีแดงขึ้นบนฟ้าเพื่อแสดงว่าสร้างเสร็จก่อนอีกฝ่ายจะได้ไม่สร้างต่อไป แต่ในครั้งนี้ปราสาทหินพิมายชูป้ายสีแดงขึ้นก่อนเพื่อแสดงว่าสร้างเสร็จแล้วจึงทำให้ปรางค์ไม่สร้างต่อ ดังนั้นหินที่กองอยู่จึงไม่มีตำแหน่งที่จะขึ้นวาง

ในปรางค์กู่จะมีพระพุทธรูปอยู่ 3 องค์ คือ องค์เล็ก องค์กลาง องค์ใหญ่ ซึ่งตอนนี้นำไปไว้ที่กรมศิลปากร พิมาย พระพุทธรูปของปรางค์กู่จะมีปากแดงทั้ง 3 องค์ พระพุทธรูปเป็นหินสีเขียวแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ยังไม่เขียวถึงกับมรกต แล้วก็คอขาดทั้งสามองค์ เป็นแบบนั้นตั้งแต่ครั้งแรกที่เจอ แต่พอพบเห็นแล้วทางกรมศิลปากรก็ได้นำมาประกอบกันเพื่อให้เป็นพระพุทธรูปที่สมบูรณ์ พบพระพุทธรูปอยู่ในหลุมที่มีความกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร โดนที่มีก้อนหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งทับปากหลุมอยู่ พอเปิดก้อนหินออกเกิดพบพระพุทธรูปทันที พบอยู่บริเวณหน้าประตูทางด้านทิศตะวันออกของปรางค์กู่ ประมาณ 9,000,000 - 10,000,000 บาท ของกรมศิลปากร พอขุดพบได้ประมาณ 20 นาที ผู้อำนวยการกรมศิลปากรก็นำกลับไปไว้ที่กรมศิลปากรที่ 12 พิมาย

- ขนาดความกว้างของพระพุทธรูปประมาณเท่าไหร่ค่ะ
องค์เล็กประมาณ 20 เซนติเมตร
องค์กลางประมาณ 30 เซนติเมตร
องค์ใหญ่ประมาณ 40 เซนติเมตร

- บริเวณปรางค์บ้านปรางค์เป็นที่ดินของใครหรอค่ะ
เป็นที่ดินของประเทศ และเป็นที่ควบคุมและดูแลของกรมศิลปากร

- ไม่สามารถใส่ตงไหนได้เลยหรอค่ะ
ใช่ เพราะตำแหน่งของหินไม่มี แต่ตอนที่เขามาบูรณะ บูรณะทั้งวันได้ไม่ถึงก้อน แล้วหินแต่ละก้อนก็มีเบอร์หรือขนาดของมันเอง ในการทำความสะอาดหินในปรางค์ใช้เวลาเกือบปีก็ยังไม่เสร็จใช้
เคยมีผู้รับเหมาทำความสะอาด ซึ่งคนนั้นใช้มีดถางหญ้าใกล้ๆกับหิน แต่ความจริงแล้วห้ามเอามีมาถางหญ้าบริเวณใกล้กับหิน เพราะถ้ามีดโดนหินแตกแค่นิดเดียวก็จะทำให้หินต่อกันไม่ได้ ดังนั้นต้องค่อยๆถอนหญ้าบริเวณนั้นทีละนิด ถ้ามีฝุ่นก็ใช้แปรงปัดฝุ่นค่อยๆปัดออก จะทำความสะอาดในเวลานานก็ได้แต่ห้ามทำให้โบราณวัตถุชำรุด ถ้าหินชำรุดก็จะไม่สามารถต่อกันได้อีก

- ตาไปดูแลปรางค์ยังไงค่ะ แล้วปกติตาไปดูแลปรางค์ยังไงและเวลาไหนค่ะ
คณะ อสมส. จะไปดูแลเป็นประจำ ตาก็จะไปดูแลทุกวัน ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับปรางค์กู่เช่นมีคนบุกรุกเพื่อหาโบราณวัตถุ ตาก็จะไปบอกเขาดีๆถ้าเขาไม่ฟังก็แจ้งตำรวจและแจ้งกรมศิลปากร

- ใช้งบประมาณในการบูรณะปรางค์ประมาณเท่าไหร่ค่ะ
งบประมาณในการทำความสะอาดปรางค์ 3,000,000 บาท งบประมาณในการลิ้อปรางค์ 2,000,000 บาท รวมเป็น 5,000,000 บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น